[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by MAXSITE 1.10
1
2
3














เปิดเว็บเมื่อ 12/02/57
ปรับปรุงเว็บเมื่อ 12/02/57
ผู้ชมทั้งหมด
1030783
สินค้าทั้งหมด Untitled Document

92


โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก,ฉลุ,ประตู,หน้าต่าง,โต๊ะหมู่บูชา
เมล็ดพันธ์ข้าว,ธัญสิริน,ไม้บัว,ไม้คิ้ว,ลูกกรงหัวเสา


  




ข่าวสารร้าน

การรักษาเนื้อไม้


จันทร์ ที่ 3 เดือน มีนาคม พ.ศ.2557

การรักษาเนื้อไม้

ทำไมต้องมีการป้องกันรักษาเนื้อไม้

     สาเหตุที่ไม้จะต้องมีการอัดน้ำยาเคมีเข้าไปเพื่อช่วยให้ไม้ทนทานต่อการผุ เปื่อย เนา จากสภาพอากาศตามฤดูกาลที่แตกต่างกัน สภาพทางชีวะวิทยาที่ต่างกัน เช่น แสงแดด ความร้อน ความเย็น ฝน น้ำค้าง หรือแมลงได้ยาวนาน โดยไม้ทั่วไปที่ไม่ได้มีการอัดน้ำยาและวางสัมผัสดินโดยตรงมีโอกาสที่จะผุพัง หรือถูกแมลงทำลายได้อย่างรวดเร็วภายใน 5 ปีขณะที่ไม้ที่ผ่านการอัดน้ำยาสามารถอยู่ได้ 30 – 40 ปี หรือยังยาวนานกว่า 50 ปีก็ยังเป็นไปได้

           


ข้อดีของการป้องกันรักษาเนื้อไม้

   - ทำให้อายุการใช้งานของไม้ยาวนานขึ้น

   - ทำ ให้นำไม้มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายขึ้น เช่น งานภายในอาคาร งานภายนอกอาคาร พื้นที่งานใต้ดิน งานที่ต้องใช้ไม้สัมผัสพื้นโดยตรงหรือฝั่งลงในดินหรืองานที่ต้องใช้ไม้ สัมผัสน้ำโดยตรงซึ่งจะเป็นน้ำทะเลก็ได้

   - ทำ ให้มีทางเลือกในการออกแบบงานไม้มากขึ้น โดยเฉพาะบางสถานที่ที่จำเป็นต้องใช้วัสดุที่ความคุณสมบัติเช่นไม้ หรือใช้ในงานตบแต่งให้เกิดความสวยงามต่างๆ
  ภาพแสดงการทาน้ำยารักษาเนื้อไม้


ยาป้องกันรักษาเนื้อไม้ (Wood Preservatives)  

     สารเคมีใช้ป้องกันรักษาเนื้อไม้ควรมีคุณสมบัติดังนี้

     1. มีความเป็นพิษต่อศัตรูทำลายไม้
 
     2. มีความคงทนอยู่ในเนื้อไม้ได้นาน

     3. มีความสามารถแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไม้ได้ดี

     4. ไม่ทำให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อเนื้อไม้

     5. ไม่ทำให้โลหะเป็นสนิม

     6. ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ทำการอาบน้ำยาป้องกันรักษาเนื้อไม้และผั้ที่นำไม้ที่ผ่านการอาบน้ำยาแล้วไปใช้ประโยชน์
 

ยาป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่สำคัญ 

     1. ประเภทน้ำมัน (Tar-Oil Preservatives) เช่น 
        a. ครีโอโสต (Creosote) 
        b. โซลิกนั่ม (Solignum) ยาป้องกันประเภทนี้เหมาะสำหรับงานภายนอกที่ต้องการความคงทนอย่างมาก เช่น รางรถไฟ สะพาน  เสาไฟฟ้า ท่าเรือ 

     2. ประเภทเกลือเคมีละลายในน้ำ (Water-Borne Preservatives) เช่น
        a. เอซิดคอปเปอร์โครเมต (Acid Copper Chromate: ACC)
        b. แอมโมเนียคัลคอปเปอร์อาร์เซเนต (Ammoniacal Compper Arsenate: ACA)
        c. โครเมเตตคอปเปอร์อาร์เซเนต (Chromated Copper Arsenate: CCA) 
        d.       คอปเปอร์โครมโบรอน (Copper Chrome Boron: CCB)
        e. ฟลูออร์โครมอาร์เซเนตฟีนอล (Fluor Chrome Arsenate Phenol: FCAP) 
     น้ำยาประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้กับงานก่อสร้างทั่วไปเช่น งานโครงสร้างอาคาร งานภายนอกอาคารทั่วไป เช่น เสา รั้ว ระเบียง ฯลฯ

      3. ประเภทเกลือเคมีละลายในสารละลายอื่น (Solvent Type Preservatives) เช่น
        a. Tributyltinoxide (TBTO)
        b. Metallic Napthenates

 











        ภาพแสดงการทาน้ำยารักษาเนื้อไม้เพื่อปกป้องไม้จากศัตรูไม้ต่างๆ

     น้ำยาประเภทนี้เหมาะสำหรับงานไม้ที่ไม่สัมผัสพื้นดินโดยตรง เช่น งานประตู หน้าต่าง ระเบียงที่ไม่สัมผัสพื้นดินโดยตรง ระแนงไม้ รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ภายนอกอาคารต่างๆ
 
 

งานที่จำเป็นต้องใช้ไม้ที่การป้องกัน

     โดยทั่วไปคือใช้กับงานทุกชนิดที่ไม้มีการสัมผัสอากาศ สัมผัสพื้นดิน หรือสัมผัสน้ำโดยตรง

     -  งานโครงสร้างต่างๆและงานหลังคาไม้

     -  พื้นระเบียงภายนอกและภายในอาคาร 

     -  งานผนังตกแต่งต่างๆ งานที่ใช้ไม้ห่อหุ้มวัสดุอื่นๆ

     -  เสาต่างๆ เช่น เสาไฟฟ้า 

     -  สนามเด็กเล่น เช่น ของเล่นเด็ก 

     -  งานที่ต้องใช้วัสดุสัมผัสน้ำ เช่น สะพานและงานในอุตสาหกรรมเรือ เช่น ท่อเรือ

     -  งานเกษตรต่างๆ เช่น ฟอร์มเลี้ยงหอยนางรม ไร่องุ่น

     -  ไม้หมอนรถไฟ และพื้นสำหรับรับน้ำหนักรถบรรทุก

     -  รั้วต่างๆ ระแนงไม้ต่างๆ

     -  โครงสร้างและงานตบแต่งสำหรับเรือ
 

ความปลอดภัยจากการใช้น้ำยาอัดเข้าสู่ไม้

     โดยปกติแล้วไม้ที่ได้รับการอัดน้ำยาจะไม่มีผลร้ายต่อมนุษย์ สัตว์ รวมถึงสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องมีการป้องกันไว้ร่วงหน้าสำหรับงานก่อสร้าง งานเฟอร์นิเจอร์ ในช่วงที่ทำการผลิตชิ้นงานหรือติดตั้งประกอบชิ้นงานต่างๆที่มีการตัดไม้และ ไสไม้ก็จะมีฝุ่นมาจากไม้ ดังนั้นจะต้องมีผ้าหรือหน้ากากปิดจมูกเพื่อไม่ให้หายใจฝุ่นละอองเหล่านี้ เข้าไปซึ่งกระบวนการตัดไม้หรือไสไม้ก็จะเกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถาน ที่ก่อสร้างเท่านั้น แต่ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆสำหรับอาคาร เฟอร์นิเจอร์ รั้ว ระแนง พื้นระเบียง ฯลฯ เพราะเป็นส่วนของชิ้นงานไม้ที่ไม่ได้มีการเลื่อย ตัด หรือ ไสไม้อีกแล้ว 

     นอกจากนี้การนำเศษไม้หรือชิ้นงานไม้ที่ไม่ใช้แล้วไปเผานั้นยังต้องควรมีสถาน ที่เก็บกักไม่ให้อากาศภายในตู้ที่ใช้เผากระจายออกไป ส่วนการนำเศษไม้ไปทิ้งนั้นถ้าเป็นไม้ชิ้นเล็กๆจำนวนไม่มากก็สามารถทิ้งสู่ ถึงขยะทั่วไปในสถานที่ต่างๆได้ แต่ถ้าเป็นจำนวนมากจะต้องมีการนำไปทิ้งในที่ที่เหมาะสม

Credit http://www.baannatura.com



เข้าชม : 8011




ความคิดเห็นที่ 1

ศุกร์ ที่ 31 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2558 เวลา 07:46:18
 ควรใช้น้ำยาทาไม้แบบใหนดีระหว่างสีผสมน้ำมันกับสีผสมน้ำ  แบบใหนอายุงานทนทานกว่ากัน ราคาต่างกันมากมั้ย   กระป๋องใช้ได้กี่ตารางเมตร             สีทาไม้เบเยอร์ที่โฆษณาอยู่ดีมั้ย  
   ddda55@hotmail.co.th   180.183.59.39  


ชื่อ/Email : [ เข้าสู่ระบบ ]
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ